วันที่ 29 มีนาคม 2561
ตอนเช้าได้ทำบุญตักบาตรก่อนที่จะเข้าเรียนและก่อนการเริ่มเรียนวันนี้ ได้มีการนำเสนอรายงานของเพื่อนๆ ได้แก่
1.การวิจัย เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน ส่วนขั้นตอนการสอน ควรมีการเขียนเป็นแผนผังความคิด (มีกรอบและลูกศชี้อย่างถูกต้อง)
2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวเลขกับเด็กอนุบาล ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เด็กจะได้เรียนรู้ ลำดับขั้นตอนการสอนอย่างละเอียดและสรุปการสอนเป็นแผนผังความคิดให้เด็กๆได้รู้อย่างชัดเจน
3.การวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ โดยใช้เกมการศึกษาต่างๆให้เด็กได้เรียรู้
การบูรณาการ มี 2 แบบ คือ 1.แบบเนียน 2.แบบรับรู้ได้บ้าง
สุดท้ายอาจารย์ให้ ออกแบบสื่อ โดยใช้แผงไข่ไก่ทำเป็นสื่อการเรียนรู้ กลุ่มดิฉันทำเป็นสีตามช่องแล้วให้นำฝาขวดน้ำมาวางใส่ให้ถูกตามแต่ละช่องสีให้ถูกต้อง
ประเมินตนเอง
วันนี้ได้ทำบุญตักบาตรก่อนเข้าเรียน ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนและทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างตั้งใจค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆขาดเรียนกันเยอะ และเข้าเรียนสายกันบ้างค่ะ ส่วนการนำเสนองานของเพื่อนๆก็นำเสนอได้อย่างเข้าใจและได้ความรู้เพิ่มเติมอย่างมากค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้เสนอแนะข้อเพิ่มเติมที่จะทำให้การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างละเอียดที่สุดค่ะ
รายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2203 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561
บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันที่ 23 มีนาคม 2561
ก่อนการเริ่มเรียนวันนี้มีเพื่อนๆออกมานำเสนอ ได้แก่
1.เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การนับจำนวนผลแอปเปิ้ล
2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนนับเลข 1-10
ดิฉันก็ได้นำเสนอบทความ เรื่อง เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม สรุปได้ดังนี้
วิธีการเรียนที่ดีที่สุด คือ ให้เด็กเรียนรู้สิ่งง่ายๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กตั้งแต่เด็กยังเล็ก ให้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย รวมทั้งพ่อแม่ควรเป็นนักเรียนเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยศึกษาวิชาคณิตศาสตร์นี้ไปพร้อมกันกับลูก ให้เติบโตเป็นเยาวชนที่ดีมีคุณภาพต่อประเทศชาติ
ต่อมาเป็นการระบายสีเป็นรูปทรงบนแผ่นกระดาษโดยระบายให้เป็นรูปทรงให้ได้เยอะมากที่สุดแล้วตัดออกมาเป็นรูปทรงนั้นๆค่ะ
ต่อมาเป็นการตัดกระดาษตามที่วาดรูป แล้วนำส่วนที่เป็นเงาไปวางเรียงกัน ให้นำรูปภาพมาวางให้ถูกคู่กัน เรียนรู้ในเรื่อง สมมาตร สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้เรียนรู้ในเรื่อง สมมาตร ได้ค่ะ
สุดท้ายเป็นกิจกรรมนับหมวก มีหมวกสีแดงและหมวกสีน้ำเงิน โดยใช้สีเป็นเกณฑ์ในการวางจัดเรียงให้ถูกต้อง การเรียงใหม่ต้องเรียงจากซ้ายไปขวาเสมอๆ ผลสรุป คือ หมวกสีแดงเหลืออยู่ 1 ใบ แสดงว่า หมวกสีแดงมากกว่าหมวกสีน้ำเงินอยู่ 1 ใบ เรียนรู้ในเรื่องการเปรียบเทียบ
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ส่วนการนำเสนอบทความก็ตั้งใจรายงานนำเสนอให้เพื่อนๆได้ฟังกัน เพื่อให้เพื่อนๆได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากมาเรียนตรงต่อเวลาดีค่ะ ตั้งใจเรียนและสนุกสนานกันมาก ส่วนเพื่อนที่ออกไปนำเสนองานก็เนื้อหาดีมีประโยชน์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้พูดเสนอแนะเพิ่มเติมส่วนที่การสอนสำหรับเด็ก โดยเริ่มจากขั้นนำ ต้องหาวิธีทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้ เช่น การทายอะไรเอ่ย เอากล่องใส่ให้เด็กจับดู ขั้นสอน ก็ต้องชัดเจน มีเกณฑ์เพื่อให้เด็กๆเอาใจชัดเจน และขั้นสรุป คุณครูต้องถามความเข้าใจของเด็กและทบทวนสิ่งที่สอนกับเด็กอีกครั้งค่ะ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้มากค่ะ
ก่อนการเริ่มเรียนวันนี้มีเพื่อนๆออกมานำเสนอ ได้แก่
1.เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การนับจำนวนผลแอปเปิ้ล
2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนนับเลข 1-10
ดิฉันก็ได้นำเสนอบทความ เรื่อง เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม สรุปได้ดังนี้
วิธีการเรียนที่ดีที่สุด คือ ให้เด็กเรียนรู้สิ่งง่ายๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กตั้งแต่เด็กยังเล็ก ให้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย รวมทั้งพ่อแม่ควรเป็นนักเรียนเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยศึกษาวิชาคณิตศาสตร์นี้ไปพร้อมกันกับลูก ให้เติบโตเป็นเยาวชนที่ดีมีคุณภาพต่อประเทศชาติ
ต่อมาเป็นการระบายสีเป็นรูปทรงบนแผ่นกระดาษโดยระบายให้เป็นรูปทรงให้ได้เยอะมากที่สุดแล้วตัดออกมาเป็นรูปทรงนั้นๆค่ะ
ต่อมาเป็นการตัดกระดาษตามที่วาดรูป แล้วนำส่วนที่เป็นเงาไปวางเรียงกัน ให้นำรูปภาพมาวางให้ถูกคู่กัน เรียนรู้ในเรื่อง สมมาตร สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้เรียนรู้ในเรื่อง สมมาตร ได้ค่ะ
สุดท้ายเป็นกิจกรรมนับหมวก มีหมวกสีแดงและหมวกสีน้ำเงิน โดยใช้สีเป็นเกณฑ์ในการวางจัดเรียงให้ถูกต้อง การเรียงใหม่ต้องเรียงจากซ้ายไปขวาเสมอๆ ผลสรุป คือ หมวกสีแดงเหลืออยู่ 1 ใบ แสดงว่า หมวกสีแดงมากกว่าหมวกสีน้ำเงินอยู่ 1 ใบ เรียนรู้ในเรื่องการเปรียบเทียบ
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน ส่วนการนำเสนอบทความก็ตั้งใจรายงานนำเสนอให้เพื่อนๆได้ฟังกัน เพื่อให้เพื่อนๆได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆส่วนมากมาเรียนตรงต่อเวลาดีค่ะ ตั้งใจเรียนและสนุกสนานกันมาก ส่วนเพื่อนที่ออกไปนำเสนองานก็เนื้อหาดีมีประโยชน์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้พูดเสนอแนะเพิ่มเติมส่วนที่การสอนสำหรับเด็ก โดยเริ่มจากขั้นนำ ต้องหาวิธีทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้ เช่น การทายอะไรเอ่ย เอากล่องใส่ให้เด็กจับดู ขั้นสอน ก็ต้องชัดเจน มีเกณฑ์เพื่อให้เด็กๆเอาใจชัดเจน และขั้นสรุป คุณครูต้องถามความเข้าใจของเด็กและทบทวนสิ่งที่สอนกับเด็กอีกครั้งค่ะ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้มากค่ะ
วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561
บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันที่ 16 มีนาคม 2561
วันนี้ได้เรียนเรื่อง สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 6 สาระ ไว้ดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
-จำนวนนับที่บอกสิ่งต่างๆ
-จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นที่ละหนึ่งตามลำดับ ศูนย์ไม่ใช้จำนวนนับ
-ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
-สัญญาลักษญ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบ มี 10 ตัว ดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ o ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
-จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใด อย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
-การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
-การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
-การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
-การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่ 2 การวัด
-การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน
-การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
-การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
-การรียงลำดับความยาว ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
-การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
-การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
-การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
-ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตร ของสิ่งต่างๆ
วันนี้ได้เรียนเรื่อง สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 6 สาระ ไว้ดังนี้
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
-จำนวนนับที่บอกสิ่งต่างๆ
-จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...เป็นจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นที่ละหนึ่งตามลำดับ ศูนย์ไม่ใช้จำนวนนับ
-ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
-สัญญาลักษญ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดด ในระบบฐานสิบ มี 10 ตัว ดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
ตัวเลขไทย ได้แก่ o ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
อ่านว่า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตามลำดับ
-จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะมีค่าเท่ากัน มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใด อย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
-การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
-การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงจัดอันดับ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
-การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม ได้ผลรวมมากขึ้น
-การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่ 2 การวัด
-การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน
-การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
-การวัดความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ต่ำกว่า ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
-การรียงลำดับความยาว ความสูง อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
-การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน หนักกว่า เบากว่า หนักเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
-การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
-การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
-ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตร ของสิ่งต่างๆ
-การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
- เงินเหรียญและธนบัตร เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขายตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ
บอกค่าของเหรียญแต่ละเหรียญ ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตรบอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ
บาท เป็นสกุเงินไทย
-เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น
2
ช่วงใหญ่ๆ
คือ กลางวันและกลางคืน
- เช้า
เที่ยง เย็น เมื่อวาน
วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
-1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้
วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร
วันพุธ วันพฤหัสบดี
วันศุกร์และวันเสาร์
สาระที่ 3 เรขาคณิต
-ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล
เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
-การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย
ทรงกระบอก และรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
สาระที่ 4 พีชคณิต
-แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต
หรือสิ่งต่างๆ
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
-แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ
อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และ
การนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตสาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและ
มีความคิดสร้างสรรค์
สุดท้ายอาจารย์ได้ให้เขียนกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้ง 6 สาระ
สุดท้ายอาจารย์ได้ให้เขียนกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้ง 6 สาระ
ประเมินตนเอง
วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา ทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ แต่อาจจะยัง
ไม่ถูกต้องตามเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจเรียน ฟังสิ่่งที่อาจารย์สอนกันทุกคนค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนอย่างชัดเจนดีมากค่ะ และแนะนำส่วนที่ต้องเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
ตามมาตราฐานการเรียนรู้ค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)