วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันที่ 2  พฤษภาคม  2561


 

             การนำเสนอเกมการศึกษาจากถาดไข่ของเพื่อนๆแต่ละคู่  ได้แก่   เกมการบวกเลข
เกมจิ๊กซอว์   เกมแม่ไก่นับเลข  เกมปอมปอมนับเลข  เกมจัดหมวดหมู่   เกมแบบแกนมิติสัมพันธ์
เกมอนุกรมภาพเหมือน     เกมภาพอะไรนะที่หายไป    โดยการเปิดคลิปวีดีโอนำเสนอหน้าห้องเรียนเพื่อให้อาจารย์และเพื่อนๆ รับรู้วิธีการประเมินเด็กได้อย่างแท้จริงค่ะ
               
               การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง  

เรื่อง การจัดเรียงรองเท้า

                                                     
วัตถุประสงค์
    1.เด็กสามารถสังเกตและเปรียบเทียบขนาดรองเท้าที่มีความสั้น ความยาวที่แตกต่างกัน
    2.เด็กสามารถจัดเรียงและจำแนกรองเท้าได้ตามความสั้น ความยาวของรองเท้าได้ถูกต้อง

วัสดุ/อุปกรณ์
    1.รองเท้าที่มีขนาดแตกต่างกัน จำนวน 6 คู่
    2.ไม้บรรทัด

ขั้นตอน
    1.ผู้ปกครองจัดหารองเท้าในบ้านที่มีขนาดแตกต่างกันจำนวน 6 คู่
    2.ให้เด็กลองเปรียบเทียบและจัดเรียงรองเท้าจากสั้นไปหายาวด้วยการคาดคะเนมองด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นการฝึกให้เด็กได้ลองถูกลองผิด
    3.ต่อมาให้เด็กใช้ไม้บรรทัดวัดความยาวของรองเท้าที่ตัวเองจัดเรียงว่าถูกต้องหรือไม่ โดยมีกระดาษไว้ให้เด็กได้เขียนขนาดของรองเท้าเพื่อไว้ดูในการเปรียบเทียบ
    4.พอเด็กรู้ความสั้น ความยาวของรองเท้าแล้วให้ทำการจัดเรียงรองเท้าใหม่อีกรอบโดยเรียงจากสั้นไปยาวเหมือนเดิม
    5.ผู้ปกครองร่วมพูดคุยกับเด็กและสรุปถึงการจัดเรียงลำดับความสั้น ความยาวของรองเท้า

ประโยชน์ที่ได้รับ
    1.เด็กได้สังเกตและเรียนรู้และการเปรียบเทียบขนาดของรองเท้า
    2.เด็กได้จัดเรียงรองเท้าตามความสั้น ความยาวได้อย่างถูกต้อง
    3.เด็กได้รู้วิธีการวัดขนาดรองเท้าว่ามีความสั้นความยาวเท่าใด

                                 การบันทึกการสังเกต เกมจัดหมวดหมู่รูปทรงเรขาคณิต








                                


การบันทึกการสังเกต
          ตอนแรกเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลที่ 1 จับฝาขวดน้ำที่เป็นรูปทรงต่างๆที่อยู่ในกล่องแล้วนำฝามาบิดใส่ตามแต่ละช่องที่กำหนดไว้ให้ และพร้อมพูดชื่อสีที่อยู่บนรูปนั้นๆได้อย่างถูกต้องค่ะ

          สุดท้ายเป็นการนำเสนอบทความ  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์และวิจัยการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย  ดังนี้
1.บทความ  เรื่อง  เทคนิคสอนลูกเก่งเลข ง่ายนิดเดียว
2.บทความ  เรื่อง  เม่ื่อลูกน้อยเรียนรู้ คณิต-วิทย์ จากเสียงดนตรี
3.การวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษาเศษส่วน
4.การวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
5.การวิจัย  เรื่อง การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3.การจัดประสบการณ์ทางคริตศาสตร์  คลิปวีดีโอ เรื่อง คณิตศาสตร์รอบตัวเด็ก  เป็นการใช้กิจกรรม 6 หลัก มาใช้ในการจัดกิจกรรมและประเมินเด็ก

ประเมินตนเอง
        เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจเรียนและจดข้อมูลที่สำคัญ

ประเมินเพื่อน
        เพื่อนส่วนมากเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจนำเสนอคลิปวีดีโอเกมการศึกษาของแต่ละคู่เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
        อาจารย์แนะนำส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นและไม่ให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นอีกบ่อยๆ




วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันที่  25  เมษายน  2561




                 วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สหรับเด็กปฐมวัยจากวัสดุเหลือใช้ (ถาดไข่)  ได้แก่  เกมจัดหมวดหมู่   เกมแบบแกนมิติสัมพันธ์   เกมอนุกรมภาพเหมือน            เกมต่อจิ๊กซอว์   เกมภาพอะไรนะที่หายไป และเกมบวกเลข










          สำหรับเกมการศึกษาจากถาดไข่ของคู่ดิฉันมีชื่อว่า  เกมจัดหมวดหมู่รูปทรงเรขาคณิต 


วัตถุประสงค์ของเกมจัดหมวดหมู่รูปทรงเรขาคณิต
   1.เพื่อให้เด็กเข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิต
   2.เพื่อให้เด็กรู้จักจำแนกรูปทรงเรขาคณิต

วิธีการเล่น
   1.มีการจัดวางรูปแบบรูปทรงเรขาคณิตในแต่ละแถวไว้ให้เด็ก
   2.ให้เด็กหยิบฝาขวดน้ำขึ้นมา สังเกตรูปทรงและจัดวางให้ตรงกับรูปแบบที่กำหนดไว้ในแต่ละแถว
   3.เมื่อเด็กจัดวางฝาขวดน้ำครบทุกแถวแล้ว ให้นำแผ่นตรวจสอบความถูกต้องมาตรวจคำตอบ

ประโยชน์ที่ได้รับ
   1.เด็กสามารถเข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิต
   2.เด็กสามารถรู้จักจำแนกรูปทรงเรขาคณิต




                                                      แผ่นตรวจคำตอบ

         
           ต่อมาอาจารย์อนเรื่อง การประเมินพัฒนาการเด็ก  มี 4 รูปแบบ ดังนี้
1.แบบบันทึก  จดรายละเอียดของเด็กในการทำกิจกรรมต่างๆ
2.การสนทนากับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง
3.การเก็บผลงานของตัวเด็ก โดยดูจากหลายชิ้นงานเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็ก ถ้าไม่ดีก็ให้ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม
4.การสัมภาษณ์  ส่วนมากใช้ในงานวิจัยต่างๆ
          การประเมินสภาพจริง คือ การขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กร่วมกันกับคุณครู

ประเมินตนเอง
       เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนและจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญ

ประเมินเพื่อน
      เพื่อนๆทุกคนทำเกมการศึกษาจากถาดไข่อย่างตั้งใจทุกคน  นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปปรับปรุงเพิ่มเติมชิ้นงานให้ดีขึ้น

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์แนะนำส่วนที่แก้ไขให้ดีขึ้น และทบทวนความรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้จดจำได้มากที่สุด




วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันที่  20  เมษายน  2561





          วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอเกมการศึกษาที่ทำจากแผงไข่ของแต่ละคู่ มีทั้งเกมจัดหมวดหมู่
เกมแบบแกนมิติสัมพันธ์  เกมอนุกรมภาพเหมือน  เกมต่อจิ๊กซอว์   เกมภาพอะไรนะที่หายไป เกมบวกเลข  โดยให้บอกชื่อเกมการศึกษา  วิธีการเล่นและประโยชน์ที่ได้รับ  และต้องมีใบเฉลยให้เด็กดูด้วยเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง


         การสาธิตเกมการศึกษาอนุกรมภาพเหมือน โดยต้องมีรูปแบบอย่างน้อย 2 เซต เพื่อให้รู้แบบรูปที่จะวางในช่องต่อไปได้ถูกต้องค่ะ
        ต่อมาเป็นการนำเสอการรายงานของเพื่อนๆ ในหัวข้อ บทความ การจัดประสบการณ์ทาคณิตศาสตร์ และการวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  ดังนี้
1.บทความ เรื่อง นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์
       นิทานที่นำมาใช้ควรเป็นนิทานสร้างคุณธรรม-จริยธรรม สนุกสนานและนำไปสู่การหาคำตอบของการเรียนรู้   การเล่านิทาน  ควรมี เรื่องราว  ตัวละคร  ฉากและการดำเนินการ
2.บทความ เรื่อง ดีจริงหรือที่เร่งอ่าน  เขียน คณิตศาสตร์ในเด็กอนุบาล
       ไม่ควรเร่งรีบแต่ควรให้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันโดยเริ่มจากเรื่องใกล้ๆตัวเด็กก่อน
3.บทความ เรื่อง พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย 1-6 ปี (พร้อมไอเดียดีๆในการส่งเสริมลูกรัก)
        วิธีการต่างๆให้เด็กเรียนรู้ อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและช่วงอายุอย่างถูกต้อง
4.การจัดประสการณ์เพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ทักษะการเปรียบเทียบ
        ขั้นนำ  ขั้นสอน และขั้นสรุป
5.วิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
        โดยใช้กับเกมการศึกษาในการทดสอบความพร้อมของเด็กปฐมวัย

          สุดท้ายเป็นการทดสอบการเขียนกรอบมาตรฐานสาระทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังและจดข้อมูลของเพื่อนๆที่ไปนำเสนองานหน้าห้องเรียน และนำสิ่งที่อาจารย์ให้ไปปรับปรุงชิ้นงานเกมการศึกษาให้สมบูรณ์แบบค่ะ

ประเมินเพื่อน
        วันนี้เพื่อนๆก็ตั้งใจนำเสนอผลงานเกมการศึกษาจากแผงไข่กันอย่างตั้งใจทุกคู่ค่ะ ส่วนเพื่อนที่รายงานหน้าชั้นเรียนก็มีทั้งทำได้ดีและไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์แนะนำส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานให้ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดข้อมูลต่างๆได้ดีค่ะ





วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันที่ 4 เมษายน  2561




          วันนี้อาจารย์ให้มารายงานการคืบหน้าของการทำเกมการศึกษาคณิตศาสตร์ด้วยแผงไข่ เพื่อนำไปปรับปรุงเพิ่มเติมให้ถูกต้อง และได้มีเพื่อนออกมารางงานการวิจัยเพิ่มเติม  ในเรื่อง เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ในเรื่องการเล่นเกมการศึกษาในเรื่องเลขฐานสิบ  กล่องกระสวย



                ผลงานการคืบหน้าการทำเกมการศึกษา เรื่อง จัดหมวดหมู่ ของคู่ดิฉัน อาจารย์ให้เพิ่มเติม ให้เล่นได้หลายเกมการศึกษาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  ทาแผงไข่เป็นสีเดียวกันทั้งหมดและทำกล่องใส่ให้เรียบร้อยสวยงาม

ประเมินตนเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา นำสิ่งที่อาจารย์บอกให้แก้ไขไปทำให้ดีขึ้นเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้กับเด็กปฐมวัยได้จริงๆ

ประเมินเพื่อน
        เพื่อนได้มารายงานการทำเกมการศึกษาจากแผงไข่  ก็มีเพื่อนทั้งคู่ที่ทำได้ดีและเพื่อนบางคู่ที่ยังทำได้ไม่ดีก็นำไปแก้ไขให้ดีขึ้นค่ะ

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์ได้แนะนำส่วนที่เพิ่มเติมและส่วนที่ปรับปรุงการทำเกมการศึกษาจากแผงไข่ให้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์และคุ้มค่ามากที่สุดค่ะ



วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่  29  มีนาคม   2561






             ตอนเช้าได้ทำบุญตักบาตรก่อนที่จะเข้าเรียนและก่อนการเริ่มเรียนวันนี้  ได้มีการนำเสนอรายงานของเพื่อนๆ  ได้แก่ 
     1.การวิจัย  เรื่อง  การศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน     ส่วนขั้นตอนการสอน ควรมีการเขียนเป็นแผนผังความคิด (มีกรอบและลูกศชี้อย่างถูกต้อง)
    2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์  เรื่อง  ตัวเลขกับเด็กอนุบาล    ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เด็กจะได้เรียนรู้    ลำดับขั้นตอนการสอนอย่างละเอียดและสรุปการสอนเป็นแผนผังความคิดให้เด็กๆได้รู้อย่างชัดเจน
    3.การวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่   โดยใช้เกมการศึกษาต่างๆให้เด็กได้เรียรู้
    การบูรณาการ มี 2 แบบ  คือ  1.แบบเนียน   2.แบบรับรู้ได้บ้าง




           สุดท้ายอาจารย์ให้ ออกแบบสื่อ โดยใช้แผงไข่ไก่ทำเป็นสื่อการเรียนรู้   กลุ่มดิฉันทำเป็นสีตามช่องแล้วให้นำฝาขวดน้ำมาวางใส่ให้ถูกตามแต่ละช่องสีให้ถูกต้อง

ประเมินตนเอง
        วันนี้ได้ทำบุญตักบาตรก่อนเข้าเรียน  ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนและทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างตั้งใจค่ะ

ประเมินเพื่อน
        วันนี้เพื่อนๆขาดเรียนกันเยอะ และเข้าเรียนสายกันบ้างค่ะ  ส่วนการนำเสนองานของเพื่อนๆก็นำเสนอได้อย่างเข้าใจและได้ความรู้เพิ่มเติมอย่างมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์ได้เสนอแนะข้อเพิ่มเติมที่จะทำให้การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างละเอียดที่สุดค่ะ





วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันที่  23  มีนาคม  2561





              ก่อนการเริ่มเรียนวันนี้มีเพื่อนๆออกมานำเสนอ   ได้แก่
1.เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การนับจำนวนผลแอปเปิ้ล   
2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนนับเลข 1-10


       ดิฉันก็ได้นำเสนอบทความ  เรื่อง  เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม   สรุปได้ดังนี้
วิธีการเรียนที่ดีที่สุด คือ ให้เด็กเรียนรู้สิ่งง่ายๆที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กตั้งแต่เด็กยังเล็ก ให้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย รวมทั้งพ่อแม่ควรเป็นนักเรียนเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยศึกษาวิชาคณิตศาสตร์นี้ไปพร้อมกันกับลูก ให้เติบโตเป็นเยาวชนที่ดีมีคุณภาพต่อประเทศชาติ


  
       ต่อมาเป็นการระบายสีเป็นรูปทรงบนแผ่นกระดาษโดยระบายให้เป็นรูปทรงให้ได้เยอะมากที่สุดแล้วตัดออกมาเป็นรูปทรงนั้นๆค่ะ






       ต่อมาเป็นการตัดกระดาษตามที่วาดรูป  แล้วนำส่วนที่เป็นเงาไปวางเรียงกัน  ให้นำรูปภาพมาวางให้ถูกคู่กัน  เรียนรู้ในเรื่อง  สมมาตร  สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้เรียนรู้ในเรื่อง สมมาตร ได้ค่ะ



        สุดท้ายเป็นกิจกรรมนับหมวก มีหมวกสีแดงและหมวกสีน้ำเงิน  โดยใช้สีเป็นเกณฑ์ในการวางจัดเรียงให้ถูกต้อง  การเรียงใหม่ต้องเรียงจากซ้ายไปขวาเสมอๆ   ผลสรุป คือ หมวกสีแดงเหลืออยู่ 1 ใบ แสดงว่า หมวกสีแดงมากกว่าหมวกสีน้ำเงินอยู่ 1 ใบ  เรียนรู้ในเรื่องการเปรียบเทียบ


ประเมินตนเอง
      วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจเรียน ส่วนการนำเสนอบทความก็ตั้งใจรายงานนำเสนอให้เพื่อนๆได้ฟังกัน  เพื่อให้เพื่อนๆได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ

ประเมินเพื่อน
       วันนี้เพื่อนๆส่วนมากมาเรียนตรงต่อเวลาดีค่ะ ตั้งใจเรียนและสนุกสนานกันมาก  ส่วนเพื่อนที่ออกไปนำเสนองานก็เนื้อหาดีมีประโยชน์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะ

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์ได้พูดเสนอแนะเพิ่มเติมส่วนที่การสอนสำหรับเด็ก  โดยเริ่มจากขั้นนำ ต้องหาวิธีทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้  เช่น  การทายอะไรเอ่ย  เอากล่องใส่ให้เด็กจับดู     ขั้นสอน ก็ต้องชัดเจน มีเกณฑ์เพื่อให้เด็กๆเอาใจชัดเจน  และขั้นสรุป  คุณครูต้องถามความเข้าใจของเด็กและทบทวนสิ่งที่สอนกับเด็กอีกครั้งค่ะ  ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้มากค่ะ


วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันที่  16  มีนาคม  2561



            วันนี้ได้เรียนเรื่อง สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  6 สาระ   ไว้ดังนี้
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
       -จำนวนนับที่บอกสิ่งต่างๆ
       -จำนวนนับ  หนึ่ง  สอง  สาม สี่  ห้า...เป็นจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นที่ละหนึ่งตามลำดับ                           ศูนย์ไม่ใช้จำนวนนับ
       -ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
       -สัญญาลักษญ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า  เลขโดด  ในระบบฐานสิบ มี 10 ตัว ดังนี้
ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่  0  1   2   3  4  5  6  7  8  9
ตัวเลขไทย   ได้แก่  o  ๑  ๒  ๓  ๔  ๕  ๖  ๗  ๘  ๙
อ่านว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า  หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตามลำดับ
       -จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใด     อย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
        -การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย
       -การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ  จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน  แล้วจึงจัดอันดับ ที่หนึ่ง  ที่สอง        ที่สาม  ที่สี่  ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่
        -การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม  ได้ผลรวมมากขึ้น
        -การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่แล้วบอกจำนวนที่เหลือ
สาระที่ 2 การวัด 
         -การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน  
        -การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
         -การวัดความยาว  ความสูง  ของสิ่งต่างๆ  อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน  ยาวกว่า  สั้นกว่า  สูงกว่า  เตี้ยกว่า ต่ำกว่า  ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ
        -การรียงลำดับความยาว ความสูง  อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย
        -การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน                            หนักกว่า  เบากว่า  หนักเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ
        -การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย
        -การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
        -ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตร            ของสิ่งต่างๆ
         -การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ  อาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย
        - เงินเหรียญและธนบัตร  เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขายตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ 
บอกค่าของเหรียญแต่ละเหรียญ ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตรบอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ   
บาท เป็นสกุเงินไทย
         -เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืน
         - เช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ
         -1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  
วันศุกร์และวันเสาร์
สาระที่  3 เรขาคณิต
       -ข้างบน  ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก  ข้างหลัง  ข้างซ้าย  ข้างขวา  ใกล้   ไกล  
เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทาง  ระยะทางของสิ่งต่างๆ
         -การจำแนกทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม
รูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป
สาระที่ 4  พีชคณิต
        -แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต 
หรือสิ่งต่างๆ
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        -การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
        -แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ 
อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
        -การแก้ปัญหา   การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และ
การนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตสาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและ
มีความคิดสร้างสรรค์




  สุดท้ายอาจารย์ได้ให้เขียนกิจกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ทั้ง 6  สาระ  

ประเมินตนเอง
        วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ  แต่อาจจะยัง
ไม่ถูกต้องตามเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ค่ะ

ประเมินเพื่อน

        วันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจเรียน  ฟังสิ่่งที่อาจารย์สอนกันทุกคนค่ะ

ประเมินอาจารย์

        อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียนอย่างชัดเจนดีมากค่ะ และแนะนำส่วนที่ต้องเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
ตามมาตราฐานการเรียนรู้ค่ะ