ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์
เพียเจท์ ได้แบ่งพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ เช่น เครื่องเล่นสนามเด็กเล่น รูปทรงบล็อกต่างๆ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เช่น การแบ่งสี การบวกเลขลบเลข
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาหรือทักษะ
1.การนับ (Counting) เช่น การนับจำนวนรูปภาพ การนับจำนวนเด็กในห้องเรียน
2.ตัวเลข (Number) เช่น การอ่านวันที่ การชั่งน้ำหนัก-ส่วนสูง
3.การจับคู่ (Matching) เช่น การจับคู่ภาพเหมือนผลไม้ การจับคู่ภาพที่แตกต่างจากพวก
4.การจัดประเภท (Classification) เช่น การจัดหมวดหมู่เครื่องเขียน การจัดหมวดหมู่เครื่องแต่งกาย
5.การเปรียบเทียบ (Comparing) เช่น การเปรียบเทียบราคาผักว่าแพง-ถูก การเปรียบเทียบขนาดรองเท้าว่าใหญ่-เล็ก
6.การจัดลำดับ (Ordering) เช่น การจัดลำดับส่วนสูงของเด็กในห้องเรียน การจัดลำดับดินสอยาว-สั้น
7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and space) เช่น รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงแก้วน้ำ-ขวดน้ำ
8.การวัด (Measurement) เช่น การวัดพื้นที่สนามเด็กเล่น การวัดส่วนสูง
9.เซต (Set) เช่น การจัดกลุ่มระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง การจัดกลุ่มระหว่างผมยาว-ผมสั้น
10.เศษส่วน (Fraction) เช่น การนับลูกชิ้นในไม้เสียบ การนับขนมในห่อ
11.การทำตามแบบและลวดลาย (Patterning) เช่น การวาดรูปตามที่กำหนด การเขียนตามเส้นปะ ก-ฮ
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) เช่น การนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์องเล่น การเรียนรู้การนับเลข
หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนรูปธรรม คือ
1.1 ขั้นใช้ของจริง
1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ
1.4 ขั้นนามธรรม
เช่น หนังสือนิทาน ของเล่นที่เป็นเครื่องครัว รูปภาพสัตว์ป่า รูปภาพอาหารต่างๆ
2.เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก เช่น การบอกทิศทาง การบอกวันและเวลา รูปทรงภาชนะที่ใส่อาหาร ชุดเครื่องแต่งกาย
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ เช่น จานจะมีรูปทรงกลม ทรงรี ไว้ใช้ใส่อาหารที่เด็กๆรับประทานกันอยู่ทุกวัน แก้วน้ำ จะมีรูปทรงกระบอก เอาไว้ใส่น้ำ
4.ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม เช่น การรับประทานอาหารด้วยตนเอง เม่ิ่อเด็กมาโรงเรียนต้องฝึกจับช้อน-ส้อมด้วยตัวเอง การจับดินสอในการเขียนชื่่อตัวเอง
5.จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย เช่น กิจกรรมการทำขนมปัง ได้รู้วิธีการทำและอุปกรณ์ใการทำ กิจกรรมเต้นตามจังหวะเครื่่องดนตรี ได้รู้จักเครื่องดนตรีและได้เคลื่อนไหวร่างกาย
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย เช่น กิจกรรมทำโมบาย ต้องทำตามขั้นตอนเพื่อให้ทำโมบายได้ กิจกรรมการระบายสีด้วยการปั้มหมึกสีมาระบายบนรูปภาพ
7.จัดกิจกรรมทบทวน โดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยสัตว์ โดยการให้เด็กๆเป็นตัวละครสัตว์และอาหารของสัตว์ ให้เด็กๆวิ่งจับคู่ว่าสัตว์ชิดนั้นกินอะไรเป็นอหาร สุดท้ายคุณครูก็มาสรุปว่ามีสัตว์อะไรบ้าง และกินอะไรเป็นอาหารไบ้าง เพื่อทบทวนให้เด็กจำได้ กิจกรรมเล่านิทานโดยใช้รูปภาพ คุณครูก็อธิบายวีธีการเล่านิทานสุดท้ายก็สรุปเป็นข้อคิดและถามเด็กๆ
ประเมินตนเอง
วันนี้ได้ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนในแต่ละวิชาให้ดีขึ้นค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆขาดเรียนกันหลายคนค่ะ แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์ช่วยกันค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมให้และเพิ่มเติมส่วนที่ต้องรู้ รวมทั้งให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีึขึ้นในการเรียนค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น