วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันที่  21  กุมภาพันธ์  2561


          เมื่อต้องการจะสอนเด็กให้ดูจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นหลักในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของตัวเด็ก
            สาระการเรียนรู้   มี 2 ส่วน    ดังนี้
1.ประสบการณ์สำคัญ    ได้แก่    ด้านร่างกาย   ด้านอารมณ์-จิตใจ   ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา
2.สาระที่ควรเรียนรู้    ได้แก่    เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก    เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  ธรรมชาติรอบตัวเด็ก และ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
            โดยดูจากความสนใจของเด็ก  ปัญหาของเด็ก  เมื่อเด็กมีความสนใจก็นำไปทำเป็นโปรเจค Apporach  และต้องให้เหมาะสมกับพัฒนาการสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก โดยให้เด็กได้ลงมือกระทำกับวัตถุด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เลือกและตัดสินใจได้อย่างอิสระ
ถ้าเด็กมีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า เกิดการเรียนรู้  แต่ถ้าเด้กไม่มีการเปลี่ยนแปลงแสดงว่า เกิดการรับรู้
          การนำเสนองานของเพื่อนๆ
1.บทความ เสริมการเรียนเลขให้กับลูก
        พ่อและแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและเรียนรู้ไปพร้อมกับลูก ให้ลูกมีวิธีกระบวนการคิดที่ดี  เข้าใจสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตรืได้อย่างเข้าจดี
2.วิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช
      เพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดีและรู้จักด้านการรู้ค่าจำนวน  การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับของจำนวนทางคณิคศาสตร์

ประเมินตนเอง
       วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานค่ะ

ประเมินเพื่อน
         วันนี้เพื่อนที่ออกมานำเสนองานก็ทำได้ดีค่ะ  เพื่อนๆทุกคนช่วยกันตอบคำถามอาจารย์กันอย่างตั้งใจดีค่ะ

ประเมินอาจารย์
         อาจารย์อธิบายเนื้อหาเดิมให้ฟังอีกครั้ง เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และแนะนำส่วนที่ปรับปรุงในการออกมานำเสนองานให้ดีขึ้นค่ะ


วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันที่ 14 กุมภาพันธ์  2561

         นักทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้ เพียเจท์ (การเรียนรู้สติปัญญา)   ธอร์นไดด์ (การเรียนรู้จากรูปธรรมและนามธรรม) และสกินเนอร์(การเสริมแรง)

ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์
         เพียเจท์  ได้แบ่งพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเป็น 2 ชนิด  ดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ   เช่น เครื่องเล่นสนามเด็กเล่น  รูปทรงบล็อกต่างๆ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์  เช่น  การแบ่งสี   การบวกเลขลบเลข

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
          ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาหรือทักษะ
1.การนับ (Counting)  เช่น  การนับจำนวนรูปภาพ  การนับจำนวนเด็กในห้องเรียน
2.ตัวเลข (Number)   เช่น  การอ่านวันที่   การชั่งน้ำหนัก-ส่วนสูง
3.การจับคู่  (Matching)   เช่น   การจับคู่ภาพเหมือนผลไม้    การจับคู่ภาพที่แตกต่างจากพวก
4.การจัดประเภท (Classification)  เช่น  การจัดหมวดหมู่เครื่องเขียน   การจัดหมวดหมู่เครื่องแต่งกาย
5.การเปรียบเทียบ (Comparing)    เช่น   การเปรียบเทียบราคาผักว่าแพง-ถูก   การเปรียบเทียบขนาดรองเท้าว่าใหญ่-เล็ก
6.การจัดลำดับ  (Ordering)   เช่น  การจัดลำดับส่วนสูงของเด็กในห้องเรียน    การจัดลำดับดินสอยาว-สั้น
7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and space)  เช่น  รูปทรงเรขาคณิต   รูปทรงแก้วน้ำ-ขวดน้ำ
8.การวัด (Measurement)   เช่น  การวัดพื้นที่สนามเด็กเล่น    การวัดส่วนสูง
9.เซต  (Set)   เช่น  การจัดกลุ่มระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง   การจัดกลุ่มระหว่างผมยาว-ผมสั้น
10.เศษส่วน  (Fraction)   เช่น  การนับลูกชิ้นในไม้เสียบ   การนับขนมในห่อ
11.การทำตามแบบและลวดลาย  (Patterning)   เช่น  การวาดรูปตามที่กำหนด   การเขียนตามเส้นปะ ก-ฮ
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  เช่น   การนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์องเล่น  การเรียนรู้การนับเลข

หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนรูปธรรม คือ
      1.1  ขั้นใช้ของจริง   
      1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง 
      1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ
      1.4  ขั้นนามธรรม
  เช่น  หนังสือนิทาน   ของเล่นที่เป็นเครื่องครัว      รูปภาพสัตว์ป่า  รูปภาพอาหารต่างๆ
2.เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก   เช่น การบอกทิศทาง   การบอกวันและเวลา  รูปทรงภาชนะที่ใส่อาหาร   ชุดเครื่องแต่งกาย
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้จำ   เช่น  จานจะมีรูปทรงกลม ทรงรี ไว้ใช้ใส่อาหารที่เด็กๆรับประทานกันอยู่ทุกวัน   แก้วน้ำ จะมีรูปทรงกระบอก เอาไว้ใส่น้ำ
4.ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม  เช่น การรับประทานอาหารด้วยตนเอง เม่ิ่อเด็กมาโรงเรียนต้องฝึกจับช้อน-ส้อมด้วยตัวเอง  การจับดินสอในการเขียนชื่่อตัวเอง
5.จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย  เช่น กิจกรรมการทำขนมปัง ได้รู้วิธีการทำและอุปกรณ์ใการทำ   กิจกรรมเต้นตามจังหวะเครื่่องดนตรี  ได้รู้จักเครื่องดนตรีและได้เคลื่อนไหวร่างกาย
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย  เช่น  กิจกรรมทำโมบาย ต้องทำตามขั้นตอนเพื่อให้ทำโมบายได้   กิจกรรมการระบายสีด้วยการปั้มหมึกสีมาระบายบนรูปภาพ
7.จัดกิจกรรมทบทวน โดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง  เช่น  กิจกรรมเสริมประสบการณ์  หน่วยสัตว์ โดยการให้เด็กๆเป็นตัวละครสัตว์และอาหารของสัตว์  ให้เด็กๆวิ่งจับคู่ว่าสัตว์ชิดนั้นกินอะไรเป็นอหาร  สุดท้ายคุณครูก็มาสรุปว่ามีสัตว์อะไรบ้าง และกินอะไรเป็นอาหารไบ้าง เพื่อทบทวนให้เด็กจำได้     กิจกรรมเล่านิทานโดยใช้รูปภาพ   คุณครูก็อธิบายวีธีการเล่านิทานสุดท้ายก็สรุปเป็นข้อคิดและถามเด็กๆ

ประเมินตนเอง
      วันนี้ได้ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ให้นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนในแต่ละวิชาให้ดีขึ้นค่ะ

ประเมินเพื่อน
      วันนี้เพื่อนๆขาดเรียนกันหลายคนค่ะ แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียนและตอบคำถามอาจารย์ช่วยกันค่ะ
      
ประเมินอาจารย์
       อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมให้และเพิ่มเติมส่วนที่ต้องรู้ รวมทั้งให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีึขึ้นในการเรียนค่ะ


วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันที่ 9  กุมภาพันธ์   2561




         
                ก่อนการเริ่มเรียน ได้มีเพื่อนออกมานำเสนอ บทความ เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และวิจัย เรื่อง  การจัดการเรียนรู้โดยรูแบบกิจกรรมใช้สมองเป็นฐานเพื่อเป็นพื้นฐานคณิตศาสตร์ปี 2559 ของมหาวิทยาลัยบูรพา
            1.บทความ  เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐม  กล่าวถึง ควรให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือกระทำกิจกรรมประจำวันด้วยตนเองโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองได้ ส่วนด้านคุณครูผู้สอนต้องมีความรู้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การแบ่งหมวดหมู่   การนับจำนวนเลข
            2.วิจัย  เรื่อง เรื่อง  การจัดการเรียนรู้โดยรูแบบกิจกรรมใช้สมองเป็นฐานเพื่อเป็นพื้นฐานคณิตศาสตร์ปี 2559 ของมหาวิทยาลัยบูรพา   กล่าวถึง การเปรีบยเทียบการเรียนรู้ทางคณิตสาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้กิจกกรรมการแบ่งค่าสกุลเงิน โยจะแบ่งกลุ่มนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เท่าๆกัน
จะมีกล่องให้แบ่งค่าสกุล แล้วให้เขย่ากล่องที่หยอดเหรียญลงไปให้เกิดเสียงและทายว่าเป็นเหรียญอะไร  ในการทำกิจกรรมจะทำตามขั้นตอน 6 ขั้นตอน    ส่วนการสอนของคุณครู จะมี 3 ขั้น  ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ  ขั้นที่ 2 ขั้นตาม และ ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป
สรุปการวิจัยครั้งนี้ กิจกรรมมีความเหมาะสม เด็กๆมีการเรียนรู้ที่มากขึ้น


           ต่อมาเป็นการแจกกระดาษให้เปรียบเทียบจำนวนที่มากกว่าและน้อยกว่าทำให้เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  มีกระดาษ1 แผ่นต่อ 1 คน  ดังนี้
กระดาษมีมากกว่าคนอยู่จำนวนสี่แผ่น
กระดาษ >  คน = 4  แผ่น
        21  >  17  = 4  แผ่น
        21  -   17  = 4  แผ่น
       
         กิจกรรมคณิตศาสตร์อยู่แห่งหนใดบ้าง  เช่น  บ้าน  บอกความยาว-ความกว้างของบ้าน   ตลาดบอกราคาผักแพง-ถูก  ชนิดของผักชนิดใดบ้าง
           กิจกรรมนักศึกาษาใช้คณิตสาสตร์เมื่อใดบ้าง  เช่น  การซื้อข้าวรับประทานในการจ่ายเงิน-ทอนเงิน
การซื้อสินค้าต่างๆ     การเรียนคณิตศาสตร์ในการบวกเลขลบเลข



          สุดท้ายเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวจังหวะ ตบมือตามเสียงจังหวะดนตรี และเขียนสัญลักษณ์ตามจังหวะเพลง

ประเมินตนเอง
          วันนีมาเข้าเรียนตรงต่อเวลา  จดสิ่งที่เป็นเนื้อหาที่สำคัญเพื่อนำไปใช้ประโยชนในอนาคตและในการเรียนต่างๆค่ะ

ประเมินเพื่อน
          วันนี้มีเพื่อนๆขาดเรียนกัยเยะค่ะ  บางช่วงก็คุยกันเสียงดัง แต่ทุกคนก็ตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถามทุกอย่างค่ะ

ประเมินอาจารย์
          อาจารย์สอนให้รู้จักการคิด คิดนอกกรอบได้  และรู้จักการกล้าแสดงออกค่ะ


             

วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันที่  31 มกราคม  2561




         วันนี้อาจารย์แจกกระดาษโดยให้ทำเป็นตัวเลขในทางคณิตศาสตร์  และใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่า   <    >    เครื่องหมายบวก +   เครื่องหมาย -   แต่เมื่อนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยควรใช้รูปภาพแทนตัวเลข เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย
        นอกจากนี้การพับกระดาษเป็นสองส่วน  เป็นข้อคิดได้ว่าสามารถพับเป็นแบบใดก็ได้ตามจินตนาการที่สามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน
        และได้เรียนเรียนเกี่ยวกับความหมายทางคณิตศาสตร์  ความหมายพัฒนาการ ลักษณะพัฒนาการและนักทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการ   ดังนี้
1.ความหมายคณิตศาสตร์
        คณิตศาสตร์   หมาถึง   เป็นเครื่องมือในการหาคำนวณตัวเลข
2.ความหมายพัฒนาการ
        พัฒนาการ   หมายถึง  การแสดงออกด้วยพฤติกรมตามความสามารถในแต่ละระดับอายุ รวมทั้งพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์-จิตใจ  ด้านสังคมและด้าสติปัญญา
3.ความหมายลักษณะพัฒนาการ
       ลักษณะพััฒนาการ   หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ตามขั้นบันไดของทฤษฎีเพียเจท์  ดังนี้
       1.การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ( Sensori-Motor stage) สมองระยะแรกจะเก็บข้อมูลส่งไปยังสมองส่วนซึมซับ  "Asimilation" สอดคล้องกับความรู้ใหม่  "Accommidation"
4.นักทฤษฎีพัฒนาการ บรุนเนอร์
     บรุนเนอร์  ได้คิดค้นการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discover Apporch) กล่าวว่า พัฒนาการเกิดจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการลงมือกระทำหรือลงมือปฎิบัติ  มี 3 ระดับ ดังนี้
     1.การเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
     2.การสร้างสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
     3.พัฒนาการทางปัญญาโดยมีผู้เรียนสามารถรับสิ่งเร้าที่ให้เลือกได้หลายอย่างพร้อมๆกัน

ประเมินตนเอง
      วันนี้แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจจดเนื้อหาที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดีค่ะ

ประเมินเพื่อน
       วันนี้เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ถามกันอย่างเต็มที่ค่ะ

ประเมินอาจารย์
       อาจารย์สอนให้ฝึกการคิดวิเคราะห์และสอนให้คิดว่าอย่ากลัวที่จะทำผิดขอให้ทำออกมาให้ดีที่สุดค่ะ
   




บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันที่ 24  มกราคม  2561



           วันนี้อาจารย์สั่งงานให้ออกแบบสื่อการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  สำหรับดิฉันได้ออกแบบสื่อที่เกี่ยวการนับตัวเลข คื่อ การนับ 1-10
ชื่อสื่อ  แม่ไก่นับเลข 1-10
อุปกรณ์ในการทำ   ดังนี้
1.ถ้วยโฟม        2.กระดาษสีแข็งและอ่อน   3.กระดาษร้อยปอนด์     4.ปากกาเมจิก  5.สีไม้                        6.กาวสองหน้า      7.ที่เจาะกระดาษ     8.ไหมพรม   9.กรรไกร
วิธีการทำ  ดังนี้
1.นำถ้วยโฟมมาห่อกระดาษสีให้เรียบร้อยพร้อมนำกระดาษแข็งมาปิดปากโฟม
2.วาดรูปแม่ไก่พร้อมระบายสีให้สวยงาม และวาดรูปไข่ไก่จำนวน 10 ใบ
3.จากนั้นนำแม่ไก่มาติดบนปากถ้วย  และเขียนตัวเลข 1-10 ลงในไข่ทั้ง 10 ใบ เพื่อให้เด็กรู้ตัวเลข
4.เจาะรูบนไข่ ร้อยเชือกให้เรียบร้อย  และเจาะรูข้างล่างโฟมไว้เป็นที่เก็บไข่
วิธีการเล่น   ดังนี้
ให้เด็กๆดึงไข่ไก่ออกมาทีละ 1 ใบ แล้วนับตัวเลขที่เขียนอยู่บนไข่ จนกระทั้งครบ 10 ใบ โดยห้เด็กยืนเรียงกันตามจำนวนตัวเลขน้อยไปหามาก คือ 1-10  จากนั้นครูผู้สอนก็สอนนับตัวเลข 1-10 ให้เด็กๆได้รู้การเรียงลำดับตัวเลขอย่างถูกต้องและจดจำตัวเลขได้


ประเมินตนเอง
      วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  และทำงานตามที่อาจารย์สั่งอย่างตั้งใจค่ะ

ประเมินเพื่อน
      วันนี้เพื่อนเข้าเรียนอย่างตรงต่อเวลาค่ะ  ทุกคนตั้งใจทำงานได้ดีทุกคนและน่าสนใจในสื่อแต่ละชนิดมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
       วันนี้อาจารย์ติดประชุม แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ให้นักศึกษาทำส่งค่ะ



บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 2

 วันที่ 19  มกราคม  2561

           วันนี้เริ่มเรียนการเขียนแผนผังสรุปความคิด  เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    โดยแบ่งหัวข้อ  3 หัวข้อ    ดังนี้

 1.การจัดประสบการณ์      ได้แก่  

         1.1 แนวคิดนักการศึกษา  

         1.2 หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์  

         1.3 รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

         1.4 การออกแบบหน่วยการเรียน

         1.5 ทักษะคณิตศาสตร์ที่เด็กควรปฏิบัติได้

         1.6 สาระของหน่วยที่เด็กควรเรียนรู้

         1.7 การเขียนแผนการจัดประสบการณ์

         1.8 สื่อ-อุปกรณ์ ในการจัดประสบการณ์

         1.9 การประเมิน

         1.10 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ในชั้นเรียน

         1.11 บทบาทของผู้ปกครอง

2.คณิตศาสตร์    ได้แก่

         2.1 ความหมาย

         2.2 ความสำคัญ

         2.3 สาระการเรียนรู้  เช่น การนับ-จำนวน    ปริมาณ-ปริมาตร  การวัด  การเปรียบเทียบ-เรียงลำดับ  รูปทรง-ความสัมพันธ์

3.เด็กปฐมวัย    ได้แก่

         3.1 พัฒนาการด้านสติปัญญา

         3.2 จิตวิทยาการเรียนรู้

         3.3 พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน  เช่น ด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์-จิตใจ   ด้านสังคม  ด้านสติปัญญา



   การเขียนแผนผังความคิด ครั้งที่ 1  มีการเขียนที่ยังไม่ถูกต้อง ตามหลักการเขียนแผนผังความคิด



     การเขียนแผนผังความคิด ครั้งที่  2  มีการเขียนได้อย่างถูกต้องตามหลักการ โดยต้องเขียนให้สมดุลกันในแผ่นกระดาษ เขียนหัวข้อใหญ่ให้อยู่ตรงกลาง  การใช้เส้นต้องใช้เส้นที่ดูแล้วสบายตา  สมองรับรู้ได้ง่าย และที่สำคัญต้องอ่านได้ง่ายชัดเจน




            สุดท้ายเป็นการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่อง การเปรียบเทียบและการลบเลข  โดยอาจารย์ให้กระดาษมาเขียนชื่อตัวเองของแต่ละคนแล้วนำไปแปะบนกระดาน  โดยมีเกณฑ์ว่า  ฝั่งซ้าย สำหรับคนที่ตื่นนอนก่อนเวลา 8.00 น.และฝั่งขวา  หลังเวลา 8.00 น. เป็นต้นไป  สามารถทำให้รู้ว่า คนที่ตื่นนอนก่อนเวลา 8.00 น. มีจำนวน 10 คน  และ  คนที่ตื่นหลัง  8.00 น. มีจำนวน 14 คน  การเปรียบเทียบทำให้รู้ว่า คนที่ตื่นนอนก่อนเวลา 8.00 น.มีจำนวนน้อยกว่า คนที่ตื่นหลัง 8.00 น. และ  การลบเลข  ทำโดยให้แต่ละคนดึงแผ่นชื่อออกไปพร้อมกันทั้ง 2 ฝั่ง ก็จะทำให้ทราบจำนวนที่เหลือที่อยู่

ประเมินตนเอง
        วันนี้มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  และได้รู้วิธีการเขียนแผนผังความคิดอย่างถูกต้องตามหลักการ และวิธีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ค่ะ

ประเมินเพื่อน
       วันนี้เพื่อนส่วนมากมาเข้าเรียนอย่างตรงต่อเวลาค่ะ  ทุกคนตั้งใจเรียน แต่มีบางช่วงที่คุยกันเสียงดัง

ประเมินอาจารย์
       วันนี้อาจารย์ได้สอนเขียนแผนผังความคิดให้นักศึกษาและสอนวิธีการคณิตศาสตร์ที่ให้นำไปใช้กับเด็กปฐมวัย ได้เป็นประโยชน์อย่างดีค่ะ